ปัญหาที่วิทยากรพบจากการสอนของคอร์ส
เดือนมิถุนายน-สิงหาคมที่ผ่านมาพบว่า
  1. แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.50 ของปี 2559 ที่ยื่นแบบไปแล้วพบว่าบัญชีที่เจ้าของธุรกิจว่าจ้างสำนักงานบัญชีหรือเจ้าหน้าที่บัญชีกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มไม่ถูกต้อง แสดงว่าหากทีมกำกับดูแลของสรรพากรที่เป็นมืออาชีพมาตรวจต้องไม่รอดแน่นอนต้องถูก เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และยังมีสิทธิถูกยกเลิกการขอขึ้นทะเบียนทำบัญชีเล่มเดียวได้ ตัวอย่างเช่นธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างซึ่งถือเป็นธุรกิจซื้อมาขายไป แต่กลับกรอกตัวเลขในหน้าที่เป็นต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวดเป็น 0 ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เป็นการสรุปได้ว่าสำนักงานบัญชีรวมทั้งผู้ตรวจสอบที่ปล่อยผ่านความรู้ด้านบัญชีมีปัญหา

  2. กรมสรรพากรขอบัญชีแยกประเภทเพื่อดูตัวเลขว่างบกำไรขาดทุน งบดุล แต่เจ้าของธุรกิจไปขอสำนักงานบัญชีปรากฎว่าสำนักงานบัญชีไม่มีบัญชีแยกประเภทให้ สรุปได้เจ้าของธุรกิจอาจถูกประเมิน เพราะสรรพากรต้องสรุปว่าเป็นการนั่งเทียนทำบัญชีคือเก็บตัวเลขจากเอกสารแล้วรวมยอด หากยอดดุลของงบดุลไม่เท่ากันก็จะทำตัวเลขขึ้นมาเองซึ่งไม่มีอยู่จริงเพื่อให้งบลงตัว (ในอดีตอาจารย์พบว่าเจ้าของธุุรกิจถูกสรรพากรเล่นเรื่องขอบัญชีแยกประเภทไปแต่สำนักงานบัญชีไม่มีให้ และถูกสรรพากรเล่นงานไป 2 ล้านกว่าบาท)

  3. ในชั้นเรียนให้เจ้าของธุรกิจบันทึกบัญชีโดยนำเอกสารของตนเองมาทำปรากฎว่าเจ้าหน้าที่บัญชีบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ว่าจ้างทำแม่พิมพ์มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีชิ้นส่วนต่างๆกำลังอยู่ระหว่างทำให้เป็นตามแบบที่กำหนด เจ้าหน้าที่บัญชีตั้งบัญชีเป็นงานระหว่างทำ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะบัญชีงานระหว่างทำหรืองานระหว่างผลิตคือกระบวนการที่กำลังผลิตสินค้า แต่ตัวแม่พิมพ์เป็นทรัพย์สินถาวร 

  4. เจ้าของธุรกิจเวลาเซ็นเช็คไม่เคยตรวจดูเลยว่าเจ้าหน้าที่บัญชีหรือบุคคลภายนอกที่ว่าจ้างได้บันทึกตอนตั้งหนี้ไว้ถูกต้องหรือไม่ ตรวจแต่การจ่ายเช็คและการหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่านั้น 

  5. เจ้าหน้าที่บัญชีบันทึกบัญชีผิดมาตลอดเพราะใช้ความเคยชินในการบันทึกบัญชี แต่เจ้าของธุรกิจเป็นผู้จ่ายเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จะปล่อยปละให้ผิดตลอดไม่ได้แล้ว เพราะอธิบดีกรมสรรพากรไม่ให้ใช้อีกต่อไป การที่เจ้าของธุรกิจตั้งงบประมาณในการเสียเบี้ยปรับให้สรรพากรถือว่าความคิดที่ผิดและการรอมชอมไม่มีอีกแล้ว 

  6. เจ้าของธุรกิจเมื่อนำงานของบริษัทมาบันทึกบัญชีตอนตั้งหนี้และตัดหนี้ก็พบว่าบัญชีของบริษัทก็ทำซ้ำๆกันทุกเดือน หากตั้งต้นการทำบัญชีถูกต้อง โดยสามารถอ้างอิงข้อกฎหมายของกรมสรรพากร บัญชีก็ไม่ยากอีกต่อไป

  7. ในแบบฟอร์มภ.ง.ด.50 หน้าหนึ่งอาจจะต้องสัมพันธ์กับภ.ง.ด.50 ในหน้าอื่นๆแต่กลับไม่ได้จัดทำ เช่น ซื้อทรัพย์สินถาวร(หมวดทรัพย์สิน)มาใช้ในกิจการซึ่งต้องบันทึกทรัพย์สินถาวรลงทะเบียนในทรัพย์สินถาวรด้วย แต่กลับไม่ปรากฎค่าเสื่อมราคาในหมวดค่าใช้จ่าย มีการตั้งบัญชีที่ดินแต่กลับไม่มีภาษีที่ดินในหมวดค่าใช้จ่ายเป็นต้น

  8. การกรอกแบบฟอร์มผิดทำให้สูญเสียสิทธิประโยชน์ที่สรรพากรกำหนดไว้ เช่น การอบรมสัมมนา การว่าจ้างคนพิการที่จดทะเบียนเป็นคนพิการซึ่งสามารถใช้สิทธิเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าแต่กลับบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายได้ตามจริง

  9. เจ้าของธุรกิจที่ไม่มีพื้นฐานบัญชีต้องหาที่เรียนบัญชีที่สามารถทำให้คุณกล้าที่จะทำบัญชีได้ด้วยตนเอง ให้รู้ถึงแก่นแท้ของบัญชีไม่ใช่เรียนไว้เพื่อรู้ ถ้าการเรียนรู้บัญชีถึงแก่นแท้บัญชีก็สามารถสั่งงานให้เจ้าหน้าที่บัญชีหรือบุคคลภายนอกที่กิจการว่าจ้างทำบัญชีให้ทำบันทึกบัญชีอย่างถูกต้องได้ (ไม่มีใครสามารถปกป้องธุรกิจเราได้ดีเท่าตัวเราเอง ไม่จำเป็นต้องทำบัญชีเองแต่ต้องสั่งงานให้คนทำบัญชี ให้ทำบัญชีอย่างถูกต้องได้)

  10. เจ้าของธุรกิจนำเอกสารของตนเองมาบันทึกบัญชีปรากฎว่าเอกสารที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีกว่า 50% ผู้ขายทำเอกสารโดยขาดข้อความอันเป็นสาระสำคัญจึงไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานการบันทึกบัญชี การกรอกแบบฟอร์มภ.ง.ด.50 เป็นการนั่งเทียนทำบัญชีโดยขาดหลักฐานอ้างอิง เป็นส่วนใหญ่ วิทยากรจึงจำเป็นต้องสอนให้เจ้าของธุรกิจบันทึกบัญชีให้ได้ด้วยตนเอง เพราะถ้าบันทึกบัญชีได้เองยังดีกว่าจ้างคนมาทำบัญชีแล้วนั่งเทียนทำบัญชีให้ซึ่งถือว่าอันตรายกว่าทำเอง เพราะถ้าทำบัญชีเองได้หากถูกสรรพากรประเมิน เจ้าของธุรกิจจะไม่ทำผิดซ้ำสอง หรือถ้ายังจ้างอยู่ก็ต้องดูว่าคนทำบัญชีจบบัญชีจริงหรือไม่ จบจริงหรือซื้อใบประกาศนียบัตรมา มีประสบการณ์บัญชีก่อนรับจ้างทำบัญชีมากี่ปี ที่สำคัญตัวเลขในงบกำไรขาดทุน งบดุลต้องมาจากบัญชีแยกประเภท ไม่ใช่นำเอกสารมารวมกันก็จบ เจ้าของธุรกิจต้องถือว่าคนทำบัญชีให้เป็นพนักงานบัญชีส่วนตัวเจ้าของธุรกิจเองต้องเป็นผู้จัดการบัญชีสั่งงานได้ แต่ที่ผ่านมาเจ้าของธุรกิจต้องการเรียนรู้แบบงูๆปลาๆพอฟังรู้เรื่องได้ก็พอ 

  11. จากความผิดพลาดทั้งหลายที่กล่าวมา วิทยากรจึงจำเป็นต้องให้เจ้าของธุรกิจนำแบบฟอร์มภ.ง.ด50 มาเรียนและสอนความสัมพันธ์ของการ กรอกตัวเลขให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจรู้ว่าแหล่งที่มาของตัวเลขในภ.ง.ด.50 มาจากไหนและเชื่อมโยงกับรายการอื่นๆได้อย่างไรและทำไมทีมกำกับดูแลจึงรู้ว่าเจ้าของธุรกิจทำบัญชีไม่ถูกต้อง ซึ่งการจับผิดภ.ง.ด.50 หาที่เรียนที่ไหนไม่ได้เพราะสอนทั้งหลักการบันทึกบัญชีควบคู่กับหลักกฎหมายสรรพากร 

  12. กรมสรรพากรประกาศว่าถ้าทำบัญชีผิดจะถูกยึดทรัพย์ทันที 90 วัน (ทำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าผู้ซื้อหรือผู้ขาย แสดงรายจ่ายอันเป็นเท็จ)สรรพากรไม่จำเป็นต้องตรวจสอบจากเอกสารบริษัทของผู้ประกอบการ เพียงแต่ขอความร่วมมือจากสรรพากรเขตพื้นที่อื่นช่วยนำสืบจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ขายสินค้า เส้นทางทางการเงิน การโอนเงินผ่านเข้าบัญชี ก็พบข้อผิดพลาดได้
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้